เจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี | |
---|---|
ไลลา | |
เจ้าหญิงแห่งอิหร่าน | |
ประสูติ | 27 มีนาคม ค.ศ. 1970 กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน |
สิ้นพระชนม์ | 10 มิถุนายน ค.ศ. 2001 (31 ปี) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ปาห์ลาวี |
พระราชบิดา | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |
พระราชมารดา | จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี |
เจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย:لیلا پهلوی, ประสูติ 27 มีนาคม ค.ศ. 1970 - สิ้นพระชนม์ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2001) พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี และจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี ชาห์และจักรพรรดินีองค์สุดท้ายแห่งอิหร่าน
พระประวัติ
[แก้]เจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี พระราชธิดาพระองค์ที่ 4 ในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี และจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี เจ้าหญิงไลลามีพระเชษฐา และเชษฐภคินีดังนี้ เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี และเจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 2 นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาคือ เจ้าหญิงชาห์นาซ ปาห์ลาวี
เสด็จลี้ภัย
[แก้]เมื่อเจ้าหญิงมีพระชนมายุได้ 9 ชันษา ก็ได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลาม พระราชวงศ์อิหร่านจึงเสด็จออกนอกประเทศ จนพระราชบิดาของเจ้าหญิง คือ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้ประชวรด้วยโรคมะเร็ง และได้เสด็จสวรรคตที่ประเทศอียิปต์ในปี ค.ศ. 1980 ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาพระราชวงศ์ รวมไปถึงเจ้าหญิงเอง ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดา พระราชวงศ์อิหร่านจึงได้ประทับ ณ สหรัฐอเมริกาเป็นการถาวร โดยเจ้าหญิงได้ศึกษาที่โรงเรียนในแมนฮัตตัน และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยบราวน์และทรงสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1992
เจ้าหญิงไลลาไม่เสกสมรส และใช้จ่ายเงินในการเดินทางระหว่างคอนเนตทิคัตกับยุโรปในแต่ละวัน โดยครั้งหนึ่งพระองค์เคยเป็นนางแบบให้กับดีไซเนอร์ วาเลนติโน จาลาวานี (Valentino Garavani) แต่ต่อมาพระองค์ได้ทุกข์ทรมานกับพระอาการไม่อยากอาหาร พระองค์จึงหมดความมั่นใจ และทรงเศร้าอย่างหนัก พระองค์ได้ทำการจ่ายค่ารักษาโรคกับคลินิกทั้งในสหรัฐอเมริกา และในสหราชอาณาจักร[1] พระองค์ได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์จำนวนมากกับการพักอยู่ในโรงแรมลีโอนาร์ด (Leonard hotel) โดยเสียค่าใช้จ่ายคืนละ £450 แก่ข้าราชบริพารของพระองค์ทุกคน
สิ้นพระชนม์
[แก้]ในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2001 เจ้าหญิงไลลาได้สิ้นพระชนม์ในห้องส่วนพระองค์ในโรงแรมลีโอนาร์ด กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ก่อนที่แพทย์ส่วนพระองค์จะทำการ 1930 BST[2] โดยเจ้าหญิงได้เสวยพระโอสถ quinalbarbitone ซึ่งเป็นยากดประสาทชนิดหนึ่ง เจ้าหญิงได้ไป 5 เวลา ซึ่งหากใช้ยาชนิดนี้มากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปกติยาชนิดนี้เป็นยาที่จะถูกใช้เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ ยาชนิดนี้เป็นยาเฉพาะที่และมีส่วนผสมมาจากโคเคนจำนวนหนึ่ง โดยพระวรกายของเจ้าหญิงนั้นซูบผอมอันเนื่องมาจากภาวะไม่อยากอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารออกมาแล้วอาเจียนออก โดยตามรายงานข่าวโดยได้ข้อมูลมาจากการชันสูตรศพของหน่วยชันสูตรศพเวสต์มินสเตอร์ ว่าเจ้าหญิงได้ขโมยยาชนิดนี้จากเคาน์เตอร์ของหมอขณะที่พระองค์มาตามนัดและนำยาไป 40 เม็ด ซึ่งมากกว่าตามที่แพทย์กำหนดไว้ถึง 2 เท่า[3]
ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2001 พระศพของเจ้าหญิงไลลา ปาห์ลาวี ได้ทำการฝัง ณ สุสานปาส์ซี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยทำการฝังใกล้กับพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดา (ยาย) คือ นางฟาริเดห์ ดีบา (ฆอตไบ) ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีผู้มาร่วมพิธีได้แก่ อดีตพระราชวงศ์ฝรั่งเศส รวมไปถึงนายเฟเดอริก มิตแตร์รองด์ (Frederic Mitterand) หลานของนายฟรองซัวส์ มิตแตร์รองด์ (Francois Mitterand) อดีตประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนพระราชวงศ์อิหร่าน ได้แก่ จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี พระมารดา, เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน, เจ้าหญิงฟาราห์นาซ ปาห์ลาวี และเจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 2 และพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาคือ เจ้าหญิงชาห์นาซ ปาห์ลาวี[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sabety, Setareh (2001-06-19). "Diana not: Serious soul-searching about our collective identity crisis". Iranian.com. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
- ↑ "Shah's daughter found dead". BBC News. 2001-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
- ↑ Tweedie, Neil (2001-07-26). "Shah's daughter stole to fuel her drug habit". Telegraph.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.
- ↑ "Shah's daughter laid to rest". BBC News. 2001-06-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-11.